Winnie The Pooh Eeyore

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 17

บันทึกอนุทิน
วันที่ 27 เมษายน 2559
ครั้งที่ 17 เวลา 14:30 - 17:30 น.
  •              วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาซักถามเกี่ยวกับเรื่องที่สงสัยหรือเรื่องที่ตนเองต้องไปเจอขณะสอนจริงปี 5 อาจาย์ให้คำแนะนำพร้อมบอกวิธีการแก้ปัญหาเมื่อต้องประสบปัญหาในชั้นเรียน




  • วันนี้ปิดท้ายด้วยการสอนทำ cooking หน่วย เห็ด  (วันศุกร์  นางสาวสุนิสา  บุดดารวม)













ประเมินผล

                ประเมินตนเอง : ดิฉันเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ซักถามอาจารย์ในเรื่องที่พบเจอในชั้นเรียนเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา

                ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังคำชี้แจงจากอาจารย์ เนื่องจากเป็นคาบสุดท้ายของการเรียนการสอน

                 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตอบทุกคำถามได้ชัดเจน พร้อมกับยกตัวอย่างสถานการณ์พร้อมแนวทางแก้ไข


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วันที่ 18 เมษายน 2559
ครั้งที่ 16 เวลา 14:30 - 17:30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

1. หน่วยยานพาหนะ(Vehicles)
               

  •                 สอนวันศุกร์ โดยนางสาวประภัสสร  หนูศิริ  เล่านิทานให้เด็กฟัง โดยนิทานที่เล่าเกี่ยวกับการดูแล การขับขี่ยานพาหนะ การใช้พลังงาน



2. หน่วยส้ม(Orange)
             

  •              สอนวันศุกร์ โดย นางสาวบุษราคัม  สารุโณ  ทำน้ำส้มคั้น ก่อนจะทำน้ำส้มคั้นควรนำผลไม้ใส่ตะกร้า และ ล้างภาชนะในการคั้นน้ำส้มให้เด็กดูก่อน



3. หน่วยกล้วย (Banana)
              

  •                สอนวันศุกร์ โดย นางสาวสุทธิดารัตน์  เกิดบุญมี  สอนการทำกล้วยเชื่อม ขณะทำครูควรแบ่งเด็กโดยการนับก่อนที่จะให้เด็กออกมาปฎิบัติเพื่อเด็กจะได้ทำวนเวียนกันครบทุกขั้นตอน




4.หน่วยผีเสื้อ (Butterfly)
             
  • สอนวันศุกร์ โดย นางสาวดวงกมล    คันตะลี  สอนขนมปังปิ้ง อุปกรณ์ที่นำมาทำ คุ้กกิ้ง ชำรุด หากนำไปใช้สอนจริงควรตรวจสอบก่อนการใช้งาน เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อเด็ก









ประเมิน

                    ประเมินตนเอง :  วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างเต็มที่ และนำข้อผิดพลาดกลับมาแก้ไข

                   ประเมินอาจารย์ :  วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจดูกิจกรรมที่นักศึกษาทำของและละกลุ่มและติชมเพื่อให้นักศึกษานำไปแก้ไข
                   
                   ประเมินเพื่อน :  เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้หมอบหมายของแต่ละกลุ่ม




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วันที่ 13 เมษายน 2559
ครั้งที่ 15 เวลา 14:30 - 17:30 น.



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วันที่ 4 เมษายน 2559
ครั้งที่ 14 เวลา 14:30 - 17:30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
         โดยแต่ละกลุ่มหลังจากที่ได้สอนแล้วได้รับคำแนะนำต่างๆจากอาจารย์ ดังต่อไปนี้

1.  หน่วยเห็ด

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               เรื่องประโยชน์และข้อพึงระวัง ครูควรมีหลักในการสอนที่ให้เด็กเข้าใจง่าย ต้องบอกเด็กว่าอย่ารับประทานเห็ดที่มีพิษ คือ เห็ดที่มีสีสันสวยงามสะดุดตา ถ้าเกินรับประทานไป ควรรีบไปหาหมอโดยทันที นางสาวพรวิมล ปาผล เป็นผู้สอน 





2.  หน่วยผีเสื้อ

               อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •                ในนิทานครูต้องเรียงคำพูดให้ดี ผีเสื้อมีประโยชน์อะไรบ้างแล้วครูก็จดบันทึกสิ่งที่เด็กพูด ประโยชน์ของผีเสื้อสร้างอาชีพต้องมาก่อนสร้างรายได้ ควรมีรูปอาชีพจากผีเสื้อให้เด็กดูด้วย ครูควรบอกวิธีแก้เมื่อเด็กขนผีเสื้อแล้วแพ้ คัน ให้เด็กไปล้างทำความสะอาดและทายาโดยทันที นางสาวณัฐชยา ชาญณรงค์ เป็นผู้สอน



3.  หน่วยยานพาหนะ

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้
  •               ปะโยชน์จากยานพาหนะ คือ การเดินทาง ขายรถและการท่องเที่ยว ครูควรถามเด็กว่า ยานพาหนะยังมีประโยชน์อะไรอีก ควรใช้เทคนิคนิทานในการสอน และเด็กมีความรู้เกี่ยวกับยี่ห้อรถไหม ในแผนการจัดประสบการณ์ต้องเขียนเน้นเรื่องประโยชน์ของยายพาหนะ นางสาวธนาภรณ์ ใจกล้า เป็นผู้สอน


4.  หน่วยส้ม

             อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้
  •              สอนเรื่องส้ม ต้องมีที่ปักเพิ่มสำหรับใช้แยกประเภทแยกส้มโอออกมา ว่าเด็กๆรู้จักส้มชนิดต่างๆแล้วครูควรให้เด็กท่องคำคล้องจองอีกรอบ  นางสาวนฤมล เส้งเซ่ง เป็นผู้สอน



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วันที่ 28 มีนาคม 2559
ครั้งที่ 13 เวลา 14:30 - 17:30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
         โดยแต่ละกลุ่มหลังจากที่ได้สอนแล้วได้รับคำแนะนำต่างๆจากอาจารย์ ดังต่อไปนี้

1.  หน่วยเห็ด

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               ในแผนการจัดประสบการณ์สาระที่ควรรู้ ควรเขียนแผนตามขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้าสรุปสั้นๆ ในการผสมการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ควรใส่ถุงถือไม่ควรใช้มือเปล่า ในแผ่นชาร์ทขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า ครูควรวาดรูปประกอบในแต่ละขั้นตอนของการเพาะเห็ด นางสาวภัสสร ศรีพวาทกุล เป็นผู้สอน
  •               กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูไม่ควรให้เด็กเคลื่อนไหวหลายอย่าง ถ้าครูให้เด็กกระโดดแล้ว ไม่ต้องให้เด็กเดินด้วยปลายเท้าอีก ในการจัดกลุ่มการเคลื่อนไหวประกอบเพลง นางสาวสุนิสา บุดดารวม เป็นผู้สอน

2.  หน่วยผัก

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               กิจกรรมเสริมประสบการณ์ - ควรใส่หัวข้อพืชลงไปในการสอน การนำเสนอควรมีประเภทของผักให้ครบทุกประเภทตามที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ นางสาวทิพย์มณี สมศรี เป็นผู้สอน
  •               จากในนิทานหนูหน่อยปวดท้อง เพราะไม่กินผัก ควรเล่าว่าหนูหน่อยท้องผูกก่อน เนื่องจากไม่มีกากอาหาร ไม่ใช่ไม่กินผักทำให้ท้องผูก ครูควรถามว่า เด็กๆ รู้ไหมว่าผักมีประโยชน์อะไรต่อร่างกายบ้าง ส่วนมากการเล่านิทาน นางสาวอินธุอร ศรีบุญชัย เป็นผู้สอน

3.  หน่วยยานพาหนะ

               อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •                กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูควรเปลี่ยนคำพูด จากคำว่า สคริปต์ เป็นก้าวชิดก้าวแทน นางสาวประภัสสร หนูศิริ เป็นผู้สอน 
  •                สอนซ้ำในเรื่องการจัดประเภทยานพาหนะ ควรเปลี่ยนหัวข้อการจัดประเภทการใช้พลังงานของยานพาหนะ สอนไม่ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ ครูควรเน้นการสอนให้ดี นางสาวอรุณี พระนารินทร์ เป็นผู้สอน

4.  หน่วยกล้วย

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ การแต่งเรื่องบรรยาย ควรมีเนื้อหาให้สอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้ สอนไม่ตรงตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไว้ นางสาวสุธิดารัตน์ เกิดบุญมี เป็นผู้สอน
  •               คนที่จะสอนไม่มาเรียนวันนี้ นางสาวณัฐชญา ตะคุณนะ เป็นผู้สอน

5.  หน่วยผีเสื้อ

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ไม่มีคำแนะนำ นายวรมิตร สุภาพ เป็นผู้สอน
  •               กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูต้องบอกว่าหนอนผีเสื้อกัดใบไม้ทำให้ใบไม้เสียหาย ไม่ถึงกับทำลายธรรมชาติ แต่อาจทำให้ผักเสียหายและทำให้ผักมีราคาลดลงได้ นางสาวดวงกมล คันตะลี เป็นผู้สอน

6.  หน่วยส้ม

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               สอนไม่ตรงตามแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไว้ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  ถ้าครูพูดคำไหนให้เด็กนับจำนวนพยางค์และทำให้สัมพันธ์กับจำนวนพยางค์ที่ครูพูด เช่น ถ้าครูพูดเยลลี่ส้ม ให้เด็กตบมือ 3 ครั้ง ถ้าครูพูดซาลาเปาส้ม ให้เด็กกระโดด 5 ครั้ง และอื่นที่เคลื่อนไหวได้ นางสาวบุษราคัม สะรุโณ เป็นผู้สอน
  •               การเคลื่อนไหนผู้นำผู้ตาม มีการให้เด็กกระโดดสลับขา กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาดี  นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์ เป็นผู้สอน

ประเมิน

            ประเมินตนเอง :  วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างเต็มที่ และนำข้อผิดพลาดกลับมาแก้ไข

            ประเมินอาจารย์ :  วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจสอนและดูนักศึกษา ทุกกลุ่มออกมาทดลองสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่
             
            ประเมินเพื่อน :  เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย บางคนไม่ค่อยตั้งใจหรือสนใจในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ เพื่อนบางคนรู้สึกเครียด แต่สุดท้ายก็ผ่านไปได้ด้วยดี




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วันที่ 22 มีนาคม 2559
ครั้งที่ 12 เวลา 14:30 - 17:30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
          โดยแต่ละกลุ่มหลังจากที่ได้สอนแล้วได้รับคำแนะนำต่างๆจากอาจารย์ ดังต่อไปนี้

1.  หน่วยเห็ด

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               กิจกรรมพื้นฐานในการกระโดดสามารถให้เด็กเปลี่ยนระดับได้ ในการเดินครูอาจให้เด็กเดินด้วยส้นเท้าหรือปลายเท้าก็ได้ กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา เช่น เมื่อครูพูดเห็ดนางฟ้าครูอาจเคาะจังหวะต่อไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องหยุดก็ได้ แล้วครูค่อยเปลี่ยนคำสั่ง นางสาวภัสสร ศรีพวามกุล เป็นผู้สอน
  •               ประโยชน์ของเห็ด เห็ดสามารถนำมาประกอบอาหารได้ เด็กบางคนก็กระโดดขาเดียวและสองขาสลับกันไป นางสาวพรวิมล ปาผล เป็นผู้สอน

2.  หน่วยผัก

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               บรรยายผักที่กินหัว คือ แครอท ทำให้ผิวเนียน มีเนื้อแน่น ผักที่กินผล คือ ฟักทอง มีเนื้อแน่น ครูอาจให้เด็กใช้นิ้วดีด เพื่อทดสอบว่าฟักทองเนื้อแน่นจริงไหม นางสาวทิพย์มณี สมศรี เป็นผู้สอน
  •                เวลาครูบรรยายให้เด็กเก็บผัก ครูต้องให้เด็กพูดนับจำนวนขณะเก็บผักไปด้วย ควรจะนั่งเก็บ มันจะไม่หน้ามืด ไม่ปวดหลังด้วย นางสาวอินธุอร ศรีบุญชัย เป็นผู้สอน

3.  หน่วยยานพาหนะ

                อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •                 การเคลื่อนไหวในการเปลี่ยนทิศทาง คือ ซ้าย ขวา ด้านหลัง ครูอาจให้เด็กเดินด้วยส้นเท้าในการเคลื่อนไหวพื้นฐานด้วยได้ ครูต้องให้เด็กรู้จักระวังไม่ให้ชนกันในการเปลี่ยนทิศทางโดยเดินด้วยส้นเท้าและถอยหลัง นางสาวอรุณี พระนารินทร์ เป็นคนสอน  
  •                  การเคลื่อนไหวให้มีหลากหลาย เช่น เปลี่ยนจาการเดินกระโดด เป็นการควบม้า ตอนบบรยายครูไม่ต้องเคาะจังหวะ ในการบรรยายสอนล้างรถ ขั้นตอนในการล้างรถจะเป็นการสอนเด็กว่าเราต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ครูต้องมีความพร้อมในการสอน นางสาวธนาภรณ์ ใจกล้า เป็นผู้สอน

4.  หน่วยผีเสื้อ

               อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •                ครูควรเคาะจังหวะพื้นฐาน 2 ครั้ง แล้วค่อยเปลี่ยนคำสั่ง เช่น เด็กๆ แปลงกายเป็นไข่ เป็นหนอน ให้เด็กๆ เป็นผีเสื้อ ขณะที่เด็กแปลงกายครูต้องให้เด็กได้ทำท่าก่อนแล้วค่อยเคาะจังหวะพื้นฐาน นายวรมิตร สุภาพ เป็นผู้สอน
  •                 ผีเสื้อผสมเกสรเป็นดอกไม้และการเปลี่ยนแปลงของผีเสื้อ นางสาวณัฐชยา ชาญณรงค์ เป็นผู้สอน

5.  หน่วยส้ม

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               ในการที่ครูให้เด็กหาบริเวณและพื้นที่ให้กับตัวเอง ไม่ต้องเคาะจังหวะ เช่น เดินตามจังหวะที่ครูเคาะ ครูสามารถสั่งให้เด็กเปลี่ยนทิศทางได้หลายครั้ง เด็กยังไม่ได้ลงจากรถไฟ แต่ไปเก็บผลส้มแล้วระหว่างที่ครูบรรยายเก็บส้มนั้น ถามเด็กว่าส้มมีประโยชน์อะไรบ้าง เพราะน้ำส้ม มีวิตามิน ไม่เป็นหวัดง่าย นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์ เป็นผู้สอน
  •                เคลื่อนไหวตามคำสั่ง ครูต้องสั่งทีละอย่าง เช่น ส้มจีนให้กระโดด ครูบอกแล้วให้เด็กกระโดด และค่อยเปลี่ยนเป็นส้มเขียวบ้านให้เด็กทำท่าบิน เวลาเคาะจังหวะ ให้เคาะแต่พอดี ไม่ต้องเคาะแรงนางสาวสกาวเดือน สอึ้งทอง เป็นผู้สอน

6.  หน่วยกล้วย

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               เด็กก็อาจจะหมุนคอ ไหล่ กลุ่มนี้เคลื่อนไหวอยู่กับที่ มันทำให้รู้สึกเบื่อ ครูต้องพูดโยงเข้าเรื่องประโยชน์ของกล้วยให้ได้ เช่น ทำให้ท้องไม่ผูก นำไปแปรรูปได้ ครูต้องเคาะจังหวะกับเด็ก ให้เด็กฝึกการฟังคำสั่ง ครูต้องฝึกเด็กและใส่ใจเนื้อหาที่สอน ข้อมูลให้เด็กเข้าใจง่ายๆ นางสาวกัญญารัตน์ หนองหงอก เป็นผู้สอน
  •                ครูต้องหารวิธีการเลือกซื้อกล้วยจากอินเตอร์เน็ตมาเพิ่มเติม การบรรยายไม่เจาะลึกลงไปที่วิธีการเลือกซื้อกล้วย นางสาวณัฐชญา ตะคุณนะ เป็นผู้สอน

ประเมิน
       
             ประเมินตนเอง :  วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนอของตัวเองให้ออกมาดีที่สุด แต่ในที่สุดก็ผ่านไปได้ด้วยดี

              ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจสอนนักศึกษาอย่างเต็มที่ และยังให้คำแนะนำ ติชม ให้งานของนักศึกษาออกมาดีที่สุด

               ประเมินเพื่อน :  เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจทำงานของตัวเองให้ออกมาดีที่สุด



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วันที่ 21 มีนาคม 2559
ครั้งที่ 11 เวลา 14:30 - 17:30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
          อาจารย์ให้คำแนะนำต่างๆในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และในการสอน ดังต่อไปนี้

1.  หน่วยส้ม

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ  ดังต่อไปนี้

  •        การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ควรใช้ปากกาเขียน     เขียนแผนการจัดประสบการณ์มาแบบไม่มีที่มาที่ไป ในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ สอนไม่ตรงตามแผน เพื่อนที่สอนบางคนอาจจะตื่นเต้น พูดถูกผิดบ้าง    ต้องปรับปรุงเรื่องการเคาะจังหวะ  เพื่อที่อาจารย์จะได้รู้ว่าแผนการจัดประสบการณ์อันใหม่ได้แก้ไขปรับปรุงแล้ว ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เด็กจะเรียนรู้ได้ดี คือ การสังเกต การสัมผัส กลุ่มนี้สอนบรรยายลักษณะของส้มเป็นส่วนใหญ่ 

2.  หน่วยผีเสื้อ

               อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •                กิจกรรมนี้จุดเน้นอยู่ที่การเคลื่อนไหวอยู่ที่กาย     ไม่ต้องมีชาร์ท เพลงที่ใช้ในกิจกรรมนี้ ควรเป็นเพลงที่เด็กร้องได้แล้ว ครูต้องให้เด็กร้องไปกับครูก่อน แล้วกำกับจังหวะ ในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ควรใช้เวลามาก แต่เน้นให้เด็กได้ทำทุกวัน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูสามารถนำรูปมาติดที่แผ่นชาร์ทได้ ครูควรใช้ปากกาสีอื่น เพื่อให้เด็กได้เห็นความแตกต่าง ไม่ควรนำชนิดผีเสื้อมาเยอะ

3.  หน่วยผัก

               อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •              เคาะจังหวะได้ชัดเจน ครูควรให้เด็กได้เดินด้วยปลายเท้า ส้นเท้า เพื่อให้เด็กได้ปรับเปลี่ยน หลังจากที่ครูทบทวนร้องเพลงแล้ว ครูควรเรียกเด็กออกมา 1 คน ทำท่านำเพื่อน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การเขียนประเภทของผักต้องเขียนกินใบ กินดอก กินหัว และอีกหลากหลาย ต้องทำตารางและเขียนให้ชัดเจน พอครูถามเด็กว่าผักอะไรบ้างที่รับประทานได้ 

4.  หน่วยยานพาหนะ

                 อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               เคลื่อนไหวตามคำบรรยายครูต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กด้วย เช่น เด็กๆจอดรถจักรยานลงไปที่หาดทราย ขณะที่ครูพูด ครูต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กทันที ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูต้องใช้เกณฑ์ให้ชัดเจนในการบอกประเภทของยานพาหนะ 

5.  หน่วยกล้วย

                  อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •                 เมื่อต้องการให้เด็กหยุดเคลื่อนไหว ไม่ควรเน้นระยะในการเคาะจังหวะหยุด ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์    แผ่นชาร์ทเพลงภาพกล้วยไม่ควรใช้สีสะท้อนแสงการนับจำนวนกล้วย

6.  หน่วยเห็ด

               อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  •               มีการให้เด็กเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูต้องหาแผงไข่มาวางเห็ดไม่ให้ซ้อนกัน การแยกประเภทของเห็ดต้องติดจากทางซ้ายมือของเด็กไปทางขวามือของเด็ก

ประเมิน

             ประเมินตนเอง : ดิฉันแต่งกายเรียบร้อย   ตั้งใจฟังที่อาจารย์และเพื่อนนำเสนองานสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

             ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ดูจริงจังในการสอนมาก      บางครั้งอาจารย์ใช้น้ำเสียงที่ดังมาก วันนี้อาจารย์ปล่อยช้า ทำให้ทุกคนรู้สึกเหนื่อย

              ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อยทุกคน  ตั้งใจนำเสนองานของตัวเอง พร้อมฟังเพื่อนนำเสนองานด้วยและนำกลับมาแก้ไขให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป 






วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วันที่  14  มีนาคม  2559
ครั้งที่  10  เวลา  14:30 - 17:30 น.


              วันนี้ทุกคนได้ช่วยกันเคลื่อนย้ายเกี่บวกับเอกสารอุปกรณ์การศึกษาของอาจารย์  ดังนั้งจึงไม่มีการเรียนการสอน


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วันที่  7  มีนาคม  2559
ครั้งที่  9  เวลา  14:30 - 17:30 น.


              วันนี้ทุกคนได้ช่วยกันเคลื่อนย้ายเกี่บวกับเอกสารอุปกรณ์การศึกษาของอาจารย์  ดังนั้งจึงไม่มีการเรียนการสอน



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วันที่  29  กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่  8  เวลา  14:30 - 17:30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
         
              อาจารย์ได้ให้การบ้าน  โดยให้ไปซื้อสมุดมีเส้น  เพื่อให้คัด ก-ฮ  ทุกคนต้องคัดไทยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง แล้วนำมาส่งในครั้งหน้า  อาจารย์เลยให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์  ซึ่งมีรายละเอียด  ดังนี้

1.  หน่วยยานพาหนะ

           อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ  ดังต่อไปนี้

  •            มีสื่อการสอน  คือ  แผ่นชาร์ทเพลงแผ่นเดียว  ไม่ได้นำรูปภาพมาใช้ในการประกอบการสอน  เนื้อหาเพลงมีความเหมาะสม  เพราะในเนื้อเพลงมีชื่อยานพาหนะ สื่อควรใช้ของจริงหรือของเล่นจะดีกว่าการใช้รูปภาพธรรมดาๆ

2.  หน่วยผีเสื้อ

               อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ  ดังต่อไปนี้

  •              ครูนำแผ่นชาร์ทลักษณะของผีเสื้อมา  และใช้คำถามปลายเปิดเด็กควรปรีบแผนการสอนว่าตรงไหนใช้กราฟฟิกอะไร  ให้วาดรูปใส่ลงไปแผนการสอน   คือ  วันที่ 1 ควรนำภาพผีเสื้อชนิดนั้นๆมาให้เด็กใช้แว่นขยายส่องดูส่วนต่างๆของผีเสื้อ  ในวันที่ 2 ควรยกตัวอย่างผีเสื้อมาแค่ 2 ชนิด  เพื่อนำมาเปรียบเทียบ  ผีเสื้อนำมาวิเคราะห์ผิวไม่ได้  เพราะ ไม่ได้ใช้ของจริง สื่อควรใช้ภาพติดกับกระดาษแข็ง แล้วครั้งหน้านำามาสอนใหม่อีกรอบ  เตรียมสื่อมาพร้อมและมีความตั้งใจในการสอนให้ดีขึ้น

3.  หน่วยเห็ด

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ  ดังต่อไปนี้

  •               เมื่อครูร้องเพลงเสร็จให้เด็กออกมาสังเกต  โดยให้สังเกตสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาก่อน เช่น สี รูปทรง รูปร่าง ขนาด แล้วค่อยส่งเห็ดให้เด็กสัมผัสและดมกลิ่น  จากนั้นครูเขียนลักษณะของเห็ดลงไปที่แผ่นชาร์ทลักษณะของเห็ดทีละช่อง คือ  สี รูปทรง รูปร่าง ขนาด ส่วนประกอบ ผิวและกลิ่นต้องส่งให้เด็กได้ดูและสัมผัสของจริงก่อน แล้วค่อยเขียนลักษณะของเห็ดชนิดที่สอง เวลาที่เด็กดูเห็ด ครูต้องถามเด็กก่อน เช่น สีของเห็ดเป็นอย่างไร แล้วค่อยเขียนสิ่งที่เด็กพูดลงบนแผ่นชารืท เป็นต้น ให้ปรับเนื้อหาให้เหลือส่วนประกอบของเห็ดที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน คือ หมวก ก้าน ครีบ และสอนเปรียบเทียบ

4.  หน่วยผัก

              อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ  ดังต่อไปนี้

  •               แผ่นชาร์ทเพลงมีแต่ตัวหนังสือ ไม่มีมะเขือยาวและบวบของจริงมาให้เด็กดู ถ้าไม่มะเขือยาวและบวบของจริงมาให้เด็กดู ครูก็ควรวาดรูป แล้วตัดตามรูปร่างของผักชนิดนั้นๆ 

5.  หน่วยกล้วย

               อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ  ดังต่อไปนี้

  •           เวลาครูถามส่วนประกอบของกล้วย ครุต้องถามสิ่งที่เด็กเห็นได้ก่อน คือ สี รูปทรง รูปร่าง ขนาด ต่อมาครูถึงส่งกล้วยหอมให้เด็กดูผิว แล้วปอกเปลือกให้เด็กดูเนื้อกล้วย กล้วยไข่มีส่วนประกอบอะไรบ้าง เนื้อกล้วยมีสีเหลือง ต่อมาดมกลิ่น จากนั้นนำกล้วยมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วให้เด็กชิม 

ประเมิน

       ประเมินตนเอง :  วันนี้แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และดูเพื่อนสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในกิจกรรม

              ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์สอนเทคนิคการสอนอย่างละเอียด และแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  สอนเข้าใจง่าย

             ประเมินเพื่อน :  เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย บางกลุ่มยังไม่พร้อมที่จะนำเสนองาน แต่ดิฉันเชื่อว่าครั้งต่อไปเพื่อนจะมีพัฒนาการมากกว่าครั้งนี้แน่นอนคะ