บันทึกอนุทิน
วันที่ 25 มกราคม 2559
ครั้งที่ 3 เวลา 14:30 - 17:30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนอจากหัวข้อรายงานที่ได้แบ่งในสัปดาห์ที่แล้ว ดังนี้
กลุ่มที่ 1 การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยมีครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน และเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้เสรีภาพแก่เด็ก ให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้ใช้จิตใจซึมซับสิ่งแวดล้อม โดยครูคำนึง ถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ของเด็กและยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย การจัดการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง เพราะมอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กคือ ผู้รู้ความต้องการของตนเองและมีความสามารถที่จะซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมได้ หลักสูตรของมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กวัย 3-6 ขวบ ครอบคลุมการศึกษา 3 ด้านคือ ด้านทักษะกลไก (Motor Education) หรือกลุ่มประสบการณ์ชีวิต มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อม การทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ ความรับผิดชอบและการประสานสัมพันธ์ให้สมดุล เด็กจะทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเบื้องต้นของชีวิตประจำวัน การดูแลตนเอง การจัดการเกี่ยวกับของใช้ในบ้าน เช่น การตักน้ำ การตวงข้าว การขัดโต๊ะไม้ การเย็บปักร้อย การรูดซิป การพับและเก็บผ้าห่ม หรือมารยาทในการรับประทานอาหารเป็นต้น ด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเกี่ยวกับมิติ รูปทรง ปริมาตรของแข็ง ของทึบ อุณหภูมิ เด็กจะได้รู้จักทรงกระบอก ลูกบาศก์ ปริซึม แขนงไม้ ชุดรูปทรงเรขาคณิต บัตรประกอบแถบสี กระดานสัมผัส แผ่นไม้ แท่งรูปทรงเรขาคณิต กิจกรรมที่จัดให้เด็กปฏิบัติผ่านการเล่น เช่น หอคอยสีชมพู แผ่นไม้สีต่างๆ เศษผ้าสีต่างๆ รูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ รูปทรงกระบอก ระฆัง กล่อง และขวดบรรจุของมีกลิ่น แท่งไม้สีแดงและแท่นวางเป็นขั้นบันได ถุงที่ซ่อนสิ่งลึกลับ เป็นต้น ด้านการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation For Writing and Arithmetic) หรือกลุ่มวิชา การ มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมเด็กเข้าสู่ระดับประถมศึกษา เตรียมตัวด้านการอ่านการเขียนโดยธรรมชาติ การประสมคำ คณิตศาสตร์ การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การประพันธ์เพลง การเคลื่อนไหวมือ เด็กจะเรียนเกี่ยวกับตัวเลข กล่องชุดอักษร ชุดแผนที่ เครื่องมือ โน้ตดนตรี กล่องและแท่งสี อักษรกระดาษทราย แผ่นโลหะชุดรูปทรงเรขาคณิต ชุดแต่งกาย เป็นต้น กิจกรรมที่จัดสำหรับเด็ก เช่น การคูณ การหารยาว ทศนิยม การแนะนำเลขจำนวนเต็ม 10 ด้วยลูกปัด แบบฝึกหัดการบวกและการลบ การเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ เรียนเรื่องส่วนที่เป็นพื้นดิน เช่น ที่ราบ ภูเขา เกาะ แหลม ฯลฯ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ เช่น น้ำตก ทะเลสาบ อ่าว ช่องแคบ ฯลฯ
การจัดการเรียนการสอน
หลักการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่มีดังนี้
- จัดห้องเรียนให้เสมือนบ้านเพื่อสร้างความรู้สึกอบอุ่นและมั่นใจให้แก่เด็กที่เพิ่งจากบ้านมาโรงเรียนครั้งแรกและเชื่อว่าในสภาพแวดล้อมคล้ายบ้าน เด็กจะพอใจที่จะเลียนแบบ (Imitation) บทบาทต่างๆ ของผู้ที่อยู่แวดล้อมเด็กได้ง่าย เพราะเด็กจะมีประสบการณ์กับบุคคลที่เขาใกล้ชิดอยู่แล้ว โดยเฉพาะพ่อแม่ เด็กเห็นพ่อแม่ทำงานบ้าน การทำตามแบบเป็นการแสดงความสามารถของเด็กที่จะนำไปใช้ในชีวิตจริงต่อไป
- ให้เสรีภาพกับเด็กที่จะเลือกเล่นด้วยตนเอง เป็นการสร้างความมั่นใจต่อตนเอง เด็กจะได้โอกาสแสดงความสามารถของตนเองให้คนอื่นรับรู้ได้ ตลอดจนสามารถที่จะฝึกฝน สร้าง สรรค์สิ่งต่างๆ และปรับชีวิตตนเองโดยไม่รู้ตัว มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กมีจิตใจที่ซึมซับสิ่งต่างๆจากสิ่งแวดล้อม (Absorbent mind) ได้เหมือนฟองน้ำ และเชื่อว่ามนุษย์เราเป็นผู้ให้การศึกษาแก่ตนเอง ดังเช่น เด็กเรียนรู้ภาษาแม่ได้เองโดยไม่ต้องสอนอย่างเป็นทางการ แตกต่างจากการที่ผู้ใหญ่เรียนภาษาต่างประเทศที่ต้องใช้ความพยายามมาก
- จัดสภาพการณ์ต่างๆที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก คอยให้คำ แนะนำ ปรึกษา เตรียมการสอนและจัดสิ่งแวดล้อมอย่างมีจุดมุ่งหมาย เด็กจะต้องติดตามดูการสาธิตการใช้อุปกรณ์ของครูแล้วจึงจะตัดสินใจเองว่าจะเลือกทำงานหรือฝึกหัดอุปกรณ์ชิ้นใด ลักษณะการเรียนรู้เช่นนี้คือ การเรียนด้วยความอิสระที่มีขอบเขต เด็กต้องเรียนรู้ที่ใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้องก่อนที่จะมีสิทธิ์เลือก เป็นการปลูกฝังวินัยและการควบคุมตนเองให้เด็ก
- พัฒนาจิตใจของเด็กไปพร้อมกับการพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและร่างกาย เน้นสุขอนามัยของเด็ก เด็กต้องทำความสะอาดอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เด็กต้องได้ออกกำลังกายและมีการเคลื่อนไหว
- การเรียนไปพร้อมกับการเล่นจะช่วยให้เด็กสนใจ เพลิดเพลิน เพราะเป็นวิธีการสอนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก คือ เด็กต้องการการเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง เด็กชอบเล่น รื้อ แคะ แกะชิ้นส่วนของสิ่งต่างๆ หรือนำไปประกอบใหม่ เด็กชอบเลียนแบบผู้ที่ตนเองพบเห็น เด็กจึงชอบสมมุติ พร้อมกันนั้นเด็กมีจินตนาการ จึงชอบทำในสิ่งที่เกินกว่าวัยของตนเองจะทำได้ และเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น จึงชอบสำรวจ ค้นหาเสมอ
- ฝึกการใช้ประสาทสัมผัสของเด็กทุกด้าน ทั้งการสังเกต การจับต้อง การลูบคลำ การฟังเสียง การดมกลิ่นและการชิมรส เพื่อการเจริญเติบโตทางด้านสติปัญญา
- ยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะเด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะของตนที่ได้รับจากพันธุกรรมจากพ่อแม่ จากการอบรมเลี้ยงดู และจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่เขาได้ปะทะสัมพันธ์ เด็กแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนจึงไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนจะทำอะไรได้เหมือนกันหมด แต่พยายามหาทางส่งเสริมให้ทุกคนอย่างเหมาะสม มอนเตสซอรี่ย้ำว่า เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก จึงควรได้รับการดูแลแตกต่างไปจากผู้ใหญ่โดยคำนึงถึงสภาพชีวิตเด็ก
- การรักเด็กและนับถือความสามารถที่เป็นธรรมชาติของเด็ก มอนเตสซอรี่จัดการเรียนการสอนให้เด็กตามความสามารถของแต่ละคน แต่ให้ทำงานไปตามลำดับความยาก ง่าย โดยมีอุปกรณ์ขนาดเหมาะมือเด็ก
- เป้าหมายสูงสุดของการสอนคือ การมุ่งให้เด็กได้เป็นเด็กที่มีคุณค่าทางจิตใจสูง ฝึกให้เห็นคุณค่าของความร่วมมือกับส่วนรวม การควบคุมตนเอง ความรับผิดชอบ ความอดทน เป็นตัน
- จัดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ให้เด็กได้พัฒนาอย่างเต็มที่เพราะช่วงเวลาหลักของชีวิตคือช่วงอายุแรกเกิดถึง 6 ขวบเป็นช่วงที่สติปัญญาของคนและพลังจิตพัฒนาสูงสุด วิธีสอนและเทคนิคการสอนแบบมอนเตสซอรี่เน้นให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตนเอง (Self Activity) มีดังนี้
- การเล่นปนเรียน (Play Way Method) มอนเตสซอรี่มีความเชื่อว่า การเล่นมีความสำคัญต่อชีวิตของเด็กเพราะธรรมชาติของเด็กจะผูกพันกับการเล่น จึงให้เสรีภาพในการเล่นกับเด็กและจัดโอกาสให้เด็กได้เล่น หากเด็กสนใจเล่น จะเล่นซ้ำๆ กันได้หลายครั้ง เพราะการเล่นจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
- การเล่นเกมจะตอบสนองความต้องการของเด็กและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะมีเสรีภาพที่เล่นลักษณะใดก็ได้ กติกาอาจเกิดจากเด็กเป็นผู้กำหนดเอง เกมอาจเกิดจากความคิดของเด็กที่ได้จากสื่อคณิตศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมที่ครูจัดไว้ให้
- วิธีให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Method) เป็นวิธีการที่แฝงอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนของมอนเตสซอรี่ที่จะสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการกระทำของตนเองตามลำดับคือ เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ การพยายามให้เด็กใช้ทักษะที่มีอยู่ การส่งเสริมให้ค้นหาสิ่งใหม่ การปรับปรุงสิ่งเดิมให้ดีขึ้น และการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นนามธรรม
แนวคิดการศึกษา วอลดอร์ฟ คือ การช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและ แนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตน แต่มนุษย์จะบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนไม่ได้ ถ้าเขายังไม่มีโอกาสได้สัมผัสหรือค้นพบส่วนต่างๆ หลายส่วนในตนเอง ด้วยเหตุนี้การศึกษา วอลดอร์ฟ จึงเน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับโลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ไม่ใช่เพื่อให้มนุษย์ยึดตนเอง (อัตตา)แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ปรัชญา เน้นความสำคัญของการสร้างสมดุลใน สาม วิถีทางที่บุคคลสัมพันธ์กับโลกคือผ่านกิจกรรมทางกาย ผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกและผ่านการคิดการศึกษา วอลดอร์ฟ มุ่งพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนและให้เด็กได้ใช้ พลังทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา ด้านศิลปะและด้านการปฎิบัติอย่างพอเหมาะ การศึกษาแบบ วอลดอร์ฟ คือการศึกษาที่มีใช้กันในหลายแห่งทั่วโลก เป็นกลุ่มการศึกษาเอกชนที่เติบโตเร็วมาก ไม่มีระบบการบริหารแบบรวมศูนย์ แต่ละแห่งล้วนเป็นอิสระต่อกัน ขณะเดียวกันก็มีการให้การสนับสนุนกันและกัน ในทรัพยากรต่างๆ เอกสารวิชาการ การจัดการประชุม
การจัดการเรียนการสอน
หลักสูตรการสอน วอลดอร์ฟ
หลักสูตรโรงเรียน วอลดอร์ฟ คำนึงถึงภาพรวมทั้งชีวิตของมนุษย์ตอบสนองต่อธรรมชาติในแต่ละช่วงวัยของเด็ก บำรุงเลี้ยงจินตนาการของเด็กท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน ดร.สไตเนอร์คิดว่าโรงเรียนต้องเอาใจใส่ต่อความต้องการของเด็กมากว่าความ ต้องการหรือเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้หรือแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจ โรงเรียน วอลดอร์ฟ ไม่ใช่สถานที่ผลิตคนเพื่อป้อนตลาดแรงงาน แต่เป็นสถานที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และมีอิสระในการสอน ทำนุบำรุงลักษณะปัจเจกของเด็กแต่ละคนให้เด็กมีโอกาสได้พัฒนาตนเอง สามารถก้าวออกไปเผชิญโลกด้วยความมั่นใจ ผ่านการศึกษาที่สมดุลมีบูรณาการในทุกด้านของชีวิต
- ครู วอลดอร์ฟ มีหน้าที่ทำให้เด็กรักการเรียนรู้ และครูจะใช้ศิลปะและกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนวิชาการ และช่วยสร้างแรงกระตุ้นภายในตัวเด็กให้รักการเรียนรู้ ไม่ใช่การทำไปเพื่อการแข่งขันหรือเรียนเพื่อสอบเอาคะแนน นอกจากนั้นการเรียนการสอนแบบ วอลดอร์ฟ ยังมีลักษณะแยกตามช่วงชั้นเรียนดังนี้
- เกรด1-3 สอนตัวอักษรผ่านรูปภาพการเขียน อ่าน สะกดืบทกลอนและละครเล่านิทานและตำนานสอนตัวเลข การคำนวณขั้นพื้นฐาน การบวก ลบ คูณและหารเล่าเรื่องราวของธรรมชาติ การสร้างบ้านและการทำการเกษตร
- เกรด4-6 เขียน อ่าน สะกด แกรมม่า บทกลอน และละคร ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เรียนทบทวนบวกลบคูณหาร ร้อยละ และเรขาคณิต ภูมิศาสตร์ สิ่งมีชีวิต พืชพรรณ ฟิสิกส์พื้นฐาน
- เกรด7-8 การเขียนอย่างสร้างสรรค์ การอ่าน สะกด Grammar บทกลอน ละคร ประวัติศาสตร์ยุคกลาง ยุคเรเนอซอง การค้นพบโลกใหม่ ชีววิทยา ภุมิศาสตร์ ฟิสิกซ์ เคมีพื้นฐาน
กลุ่มที่ 3 การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ ( Project Approach )
การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอน
การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้
- ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด มีความมุ่งหมาย ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
- วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
- ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
- ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
- ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
- มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น และกิจกรรมนำเสนอผลงาน
- กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่ การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต
พหุปัญญา (Multiple Intelligences) หมายถึง ปัญญาหลากหลายด้านของมนุษย์ ซึ่งเป็นการอธิบายความสามารถของสมองมนุษย์แต่ละคนว่า สามารถแสดงศักยภาพด้านใดออกมาบ้าง เงื่อนไขสำคัญของการสร้างความฉลาดให้เด็กในแต่ละด้านคือ ทำพื้นฐานการเรียนรู้ จดจำ และเข้าใจ ผ่านประสาทสัมผัสที่ครบทั้ง 6 ช่องทาง ทั้งนี้ ผู้ใหญ่จำนวนมากเข้าใจว่า เด็กเรียนรู้ผ่านตา (เห็นภาพ รูปทรง สี ตำแหน่ง ตัวหนังสือ ฯลฯ) กับหู (ได้ยินเสียง รับคลื่น ฯลฯ) เท่านั้น จึงมักสอนลูกๆด้วยการชี้ชวนให้ดู สั่งสอนอบรม (คือพูดให้ฟัง หรือ ปล่อยให้ดูทีวี ดูรายการสารคดี หรืออ่านหนังสือ ฯลฯ) และมักละเลยการจัดประสบการณ์ที่จะให้ได้ครบทั้ง 6 ช่องทาง คือ การดมกลิ่น การรับรส การรับความรู้สึก อุณหภูมิ รับสัมผัสผ่านผิวหนังทุกส่วนทั่วร่างกาย และความรู้ สึกภายใน (ตื่นเต้น ชอบ ไม่ชอบ กลัว วูบวาบ) หากเราจัดประสบการณ์ให้เด็กไม่ครบ การเรียนรู้ก็ขาดวิ่น เสมือนเราแต่งตัวให้เด็กแค่ใส่เสื้อกับกางเกง แต่ขาดรองเท้า ถุงเท้า หมวก ฯลฯ อยากให้ลูกดูสวย น่ารัก เตะตาคนอื่น แต่เราให้ความสนใจเพียงบางเรื่อง ที่เหลือให้ลูกไปคลำทางเอาเอง แล้วเราก็ตั้งความหวังว่าลูกเราจะเก่งเมื่อโตขึ้น พอไปโรงเรียนก็พบว่า ทำไมไม่เก่งอย่างใจเราปรารถนา ก็ส่งไปกวดวิชา ซึ่งก็สายไปแล้ว เพราะเลยเวลาที่สำคัญในชีวิตที่จะปูพื้นฐานแล้ว ไปกวดวิชา ครูกวดวิชาก็สอนได้เฉพาะวิธีทำข้อสอบ ให้สอบเข้าได้ แล้วโตขึ้นจะเป็นอย่างไร ในเมื่อทักษะสำคัญหลายๆด้านไม่ได้รับการพัฒนาตั้งแต่เล็ก เลยเวลาพัฒนาก็จะซ่อมสร้างใหม่ได้ยาก
การจัดการเรียนการสอน
ครูจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพหุปัญญาแต่ละด้านให้เด็ก ดังนี้
- Visual/Spatial Intelligence ได้แก่ การให้เด็กเคลื่อนไหวอิสระในบริเวณที่เรียนรู้ หัดให้ร่างภาพก่อนจะเข้าสู่บทเรียน ฝึกเขียนแผนที่ แผนภาพ ฝึกการระดมความคิด จัดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการใช้ตา ฝึกการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ ฝึกการรวบ รวมข้อมูล จากการมองเห็นเข้าเป็นการคิดเป็นระบบ
- Verbal/Linguistic Intelligence ได้แก่ การฝึกค้นคว้าคำศัพท์ใหม่ๆ เรียนรู้คำศัพท์ในภาษาอื่นๆ ฝึกให้นำเสนอหน้าชั้นเรียน โต้วาที อภิปราย แทรกบทละคร การแสดงเข้ามาในบทเรียน หัดเขียนบันทึกประจำวันอย่างสม่ำเสมอ กระตุ้นให้ฝึกเขียนบทความสร้างสรรค์ ฝึกให้เล่าเรื่อง หัดอ่านวรรณกรรมเด็กและเยาวชน
- Logical/Mathematical Intelligence ได้แก่ การฝึกจัดลำดับกิจกรรม การฟังคำสั่ง นำเสนอ “คำจำกัดความ หรือ ข้อตก ลง” ก่อนจะเข้าสู่กิจกรรมในบทเรียน จัดให้มีคำถามปลายเปิดอยู่ในกระบวนการแก้ปัญหา ส่งเสริมการทดลองซึ่งเด็กๆจะสามารถทดสอบสมมติฐานได้ หัดให้ใช้เหตุผล หรือ การอนุมานในการนำเสนอ ฝึกให้มีการโต้แย้งในชั้นเรียน หัดแก้ปัญหาเกม puzzles ให้เด็กฝึกกำหนดเป้าหมายระยะสั้นของการเรียนรู้ของตนและกลุ่ม ส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมิน ผล
- Bodily/Kinesthetic Intelligence ได้แก่ การจัดกิจกรรมที่ให้ได้ใช้มือ ร่างกาย เพิ่มการแสดงเข้าไปในหน่วยการเรียนรู้ ใช้เกมเพื่อทบทวนบทเรียน ใช้ดนตรี จังหวะในการเรียนรู้ จัดบทเรียนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เรียนตัวเลขจากสิ่งของที่จับต้องได้ เปิดโอกาสให้เด็กได้สร้างและแยกแยะสิ่งของต่างๆด้วยตนเอง ให้เด็กฝึกที่จะสร้างแนวคิดผ่านการทดลองด้วยร่างกายของตนเอง ให้เด็กเคลื่อนไหวในชั้นเรียนอย่างอิสระ เล่นต่อบล็อก
- Musical/Rhythmic Intelligence ได้แก่ การฝึกการฟังเสียงเดี่ยว เสียงผสมในสิ่งแวดล้อม ฝึกการเคลื่อนไหวตามจัง หวะ ฝึกการวาดภาพจากสิ่งที่เห็นในสิ่งแวดล้อม หัดฟัง ร้องเพลงกล่อมเด็ก/เพลงพื้นบ้าน ฝึกภาษาต่างประเทศ ฟังเสียงเครื่องดน ตรีชนิดต่างๆ ทั้งเดี่ยวและผสม ฝึกเรียงลำดับตามรูปแบบของสิ่งต่างๆ ฝึกอ่านโน้ตดนตรี
- Interpersonal Intelligence ได้แก่ การให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน ให้เด็กทำงานเป็นกลุ่ม ให้เด็กเลือกจัดกลุ่มของตนโดยอิสระ ฝึกทำงานเป็นทีม โดยแต่ละคนมีหน้าที่ดูแล ฝึกวางแผนการทำงาน ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จ ใช้การแข่ง ขันกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ ที่จะตั้งเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จที่สูงขึ้น ฝึกบทบาทสมมติ เชื้อเชิญคนภายนอกเข้ามาช่วยทำ งานกับกลุ่ม จัดให้มีการทำงานร่วมกับชั้นเรียนอื่นๆ
- Intrapersonal Intelligence ได้แก่ การใช้บทเรียนที่แตกต่างในระหว่างเด็กแต่ละกลุ่ม ใช้การอุปมาอุปมัยในบทเรียน จัดให้มีทางเลือกสำหรับผู้เรียน ส่งเสริมให้เด็กตั้งเป้าหมายของตนในการเรียน จัดให้มีการเขียนบันทึกประจำวันก่อนเข้าสู่บท เรียน เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความรู้สึกต่อบทเรียน รวมทั้งการสะท้อน เสนอแนะ จัดให้มีการประเมินผลตัวเด็กในกระบวนการประเมินผลชั้นเรียน นำประเด็นเรื่องความยุติธรรมในสังคมเข้าสู่บทเรียน ใช้แบบสอบถาม ประเมิน และเครื่องมืออื่นๆ ที่จะช่วยให้เด็กประเมินความก้าวหน้าของตน
สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5 ประการได้แก่
- เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ
- ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ
- เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
- ท้าทายความคิดของนักเรียน
- เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
กลุ่มที่ 6 การจัดการเรียนการสอนแบบ BBL ( Brain - Based Learning )
Brain Based Learning คือ การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้อยู่ระหว่างแรกเกิด – 10 ปี Regate และ Geoffrey Caine นักวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสมองเป็นหลัก
การจัดการเรียนการสอน
1. การจัดการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงและถาวรนั้น จะต้องจัดให้ครบองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ การรับรู้ การบูรณาการความรู้ และการประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติจริงในวิถีชีวิต
2. ครูผู้สอนจะต้องมีข้อมูล และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล คิดและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความถนัด/ความสามารถหรือความเก่งให้เก่งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ อีกให้มีความเก่งหลาย ๆ ด้าน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถหรือความเก่งสู่สาธารณชน โดยอาจจัดเวทีให้แสดงอย่างอิสระ
3.การจัดการเรียนการสอนที่ดี ครูต้องมีความเข้าใจทักษะที่เกี่ยวโยงกับความสามารถพิเศษของสมองแต่ละซีก สมองซีกซ้ายสั่งการทำงานเกี่ยวกับ คำ ภาษา ตรรก ตัวเลข/จำนวน ลำดับ ระบบ การคิดวิเคราะห์ และการแสดงออกเป็นต้น สมองซีกขวาจะสั่งการเกี่ยวกับ จังหวะ ดนตรี ศิลปะ จินตนาการ การสร้างภาพ การรับรู้ การเห็นภาพรวม ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
4.ควรจัดเนื้อหาที่มีความหลากหลายครอบคลุมทุกมิติของชีวิตมนุษย์ กระบวนการเรียนรู้มีลักษณะหลากหลายร่วมกันในลักษณะ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แหล่งการเรียนรู้หลากหลาย เช่น เรียนรู้จากสื่อธรรมชาติ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ จากแหล่งงานอาชีพของชุมชน จากการค้นคว้าทางเทคโนโลยี ฯลฯ
5. ในกระบวนการเรียนรู้นั้น ขณะที่ผู้เรียนเรียนรู้นั้นอาจเป็นแค่การรับรู้ แต่ยังไม่เข้าใจ ความเข้าใจอาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้ ซึ่งบางครั้งการสอนในชั้นเรียนเมื่อจบลงบางบทเรียนไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ เนื่องจากการสอนนั้นไม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
6. บางครั้งการจำเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์ แต่การสอนที่เน้นการจำไม่ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้และบางครั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเข้าใจ ถ้าครูไม่ได้ศึกษาลีลารูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละประเภท ว่ามีความชื่นชอบ ความถนัด วิธีการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และจัดกิจกรรมการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละประเภท จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
7.ครูจำเป็นต้องใช้กิจกรรมที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย การสาธิต การทำโครงงาน ทัศนศึกษา การรับรู้ประสบการณ์ด้วยการมองเห็นของจริง การเล่าเรื่อง ละคร และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อคนหลาย ๆ ประเภท การเรียนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาสามารถเรียนรู้ได้ในกระบวนการโดยผ่านเรื่องหรือการเขียน
8.ควรสร้างสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยเพื่อ การเรียนรู้ โดยผ่านการเล่นแบบท้าทาย การเสี่ยง ความสนุกสนาน เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ การถูกทำโทษอันเนื่องมาจากความผิดพลาดจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ครูจึงไม่ควรลงโทษผู้เรียน
ในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์แวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้
9.ผู้เรียนมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา ความสามารถความเก่งของมนุษย์ คือ ทฤษฎีพหุปัญญา ความเป็นคนเก่งคืออะไร มีคำตอบมากมายหลายรูปแบบ แต่สรุปรวมได้ว่า คนเก่งคือผู้มีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งเฉพาะด้าน หรือหลาย ๆ ด้าน ที่แสดงออกถึงความสามารถได้อย่างเป็นที่ประจักษ์
ประเมินผล
ประเมินตนเอง : วันนี้จากการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้ทราบข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม
เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนทั้ง 6 แบบ แต่ละแบบมีความแตกต่างกันออกไป ครูจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมาเรียนกันครบทุกคน ทุกกลุ่มออกมานำเสนองานของตนเองได้ดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำรายละเอียดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มเพิ่มเติมจากที่นักศึกษานำเสนอ พร้อมทั้งให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น