บันทึกอนุทิน
วันที่ 21 มีนาคม 2559
ครั้งที่ 11 เวลา 14:30 - 17:30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้คำแนะนำต่างๆในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และในการสอน ดังต่อไปนี้
1. หน่วยส้ม
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้
- การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ควรใช้ปากกาเขียน เขียนแผนการจัดประสบการณ์มาแบบไม่มีที่มาที่ไป ในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ สอนไม่ตรงตามแผน เพื่อนที่สอนบางคนอาจจะตื่นเต้น พูดถูกผิดบ้าง ต้องปรับปรุงเรื่องการเคาะจังหวะ เพื่อที่อาจารย์จะได้รู้ว่าแผนการจัดประสบการณ์อันใหม่ได้แก้ไขปรับปรุงแล้ว ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เด็กจะเรียนรู้ได้ดี คือ การสังเกต การสัมผัส กลุ่มนี้สอนบรรยายลักษณะของส้มเป็นส่วนใหญ่
2. หน่วยผีเสื้อ
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้
- กิจกรรมนี้จุดเน้นอยู่ที่การเคลื่อนไหวอยู่ที่กาย ไม่ต้องมีชาร์ท เพลงที่ใช้ในกิจกรรมนี้ ควรเป็นเพลงที่เด็กร้องได้แล้ว ครูต้องให้เด็กร้องไปกับครูก่อน แล้วกำกับจังหวะ ในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ควรใช้เวลามาก แต่เน้นให้เด็กได้ทำทุกวัน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูสามารถนำรูปมาติดที่แผ่นชาร์ทได้ ครูควรใช้ปากกาสีอื่น เพื่อให้เด็กได้เห็นความแตกต่าง ไม่ควรนำชนิดผีเสื้อมาเยอะ
3. หน่วยผัก
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้
- เคาะจังหวะได้ชัดเจน ครูควรให้เด็กได้เดินด้วยปลายเท้า ส้นเท้า เพื่อให้เด็กได้ปรับเปลี่ยน หลังจากที่ครูทบทวนร้องเพลงแล้ว ครูควรเรียกเด็กออกมา 1 คน ทำท่านำเพื่อน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การเขียนประเภทของผักต้องเขียนกินใบ กินดอก กินหัว และอีกหลากหลาย ต้องทำตารางและเขียนให้ชัดเจน พอครูถามเด็กว่าผักอะไรบ้างที่รับประทานได้
4. หน่วยยานพาหนะ
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้
- เคลื่อนไหวตามคำบรรยายครูต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กด้วย เช่น เด็กๆจอดรถจักรยานลงไปที่หาดทราย ขณะที่ครูพูด ครูต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กทันที ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูต้องใช้เกณฑ์ให้ชัดเจนในการบอกประเภทของยานพาหนะ
5. หน่วยกล้วย
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้
- เมื่อต้องการให้เด็กหยุดเคลื่อนไหว ไม่ควรเน้นระยะในการเคาะจังหวะหยุด ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ แผ่นชาร์ทเพลงภาพกล้วยไม่ควรใช้สีสะท้อนแสงการนับจำนวนกล้วย
6. หน่วยเห็ด
อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ดังต่อไปนี้
- มีการให้เด็กเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูต้องหาแผงไข่มาวางเห็ดไม่ให้ซ้อนกัน การแยกประเภทของเห็ดต้องติดจากทางซ้ายมือของเด็กไปทางขวามือของเด็ก
ประเมิน
ประเมินตนเอง : ดิฉันแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์และเพื่อนนำเสนองานสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ดูจริงจังในการสอนมาก บางครั้งอาจารย์ใช้น้ำเสียงที่ดังมาก วันนี้อาจารย์ปล่อยช้า ทำให้ทุกคนรู้สึกเหนื่อย
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อยทุกคน ตั้งใจนำเสนองานของตัวเอง พร้อมฟังเพื่อนนำเสนองานด้วยและนำกลับมาแก้ไขให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น